ยางไดอะแฟรม คืออะไร

       ไดอะแฟรมยาง คือ ยางที่มีหน้าที่ดูด-อัดของเหลว เป็นสโตรก ทำให้ยางไดอะแฟรมมีความยืดหยุ่นสามารถทนความดันและสารเคมีได้ดี ซึ่งบริษัท เอส พี พี อินดัสเตรียลรับเบอร์ จำกัด เราเป็นโรงงานผลิตไดอะแฟรมยางชั้นนำ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี 

 

ยางไดอะแฟรมแบ่งเป็น 8 ชนิด ได้แก่

1. ไดอะแฟรมยาง ชนิดกลมแบน (Flat Diaphragm Rubber)

มักใช้กับงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้กรูหรือน๊อตยึดกับหน้าแปลน เหมาะสำหรับกับใช้งานที่ต้องรับแรงดัน สามารถเสริมผ้าใบได้ ตั้งแต่ 1 ชั้น เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากค่าแรงดัน (Psi / Mpa / Bar)

2. ไดอะแฟรมยาง ชนิดปะเก็น (Gasket Diaphragm Rubber)

มักใช้กับงานที่จำเป็นต้องใช้สกรูหรือน๊อตเป็นตัวยึดติดกับหน้าแปลน เหมาะสำหรับกับใช้งานที่ต้องรับแรงดัน สามารถเสริมผ้าใบได้ ตั้งแต่ 1 ชั้น เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากค่าแรงดัน (Psi / Mpa / Bar)

3. ไดอะแฟรมยาง ชนิดโค้งนูน (Rolling Diaphragm Rubber)

มักใช้กับงานที่จำเป็นต้องใช้สกรูหรือน๊อตยึดต่างระดับกันกับหน้าแปลนเครื่อง โดยรูในอาจจะสูง หรือเตี้ยกว่า รูรอบๆด้านข้าง ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเครื่องจักรในแต่ละรุ่น สามารถเสริมผ้าใบได้ ตั้งแต่ 1 ชั้น เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากค่าแรงดัน (Psi / Mpa / Bar)

4.  ไดอะแฟรมยาง รูปถ้วย (Cap Diaphragm rubber)

มักใช้กับงานที่ต้องทนแรงดันโดยหน้าแปลนหรือโครงสร้างของเครื่องจักรมีความต่างระดับสูง ไดอะแฟรมลักษณะนี้จะทนแรงดันได้ไม่มากนัก ซึ่งนับเป็นไดอะแฟรมยาง ที่ผลิตยากที่สุดชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีความบางของชั้นเนื้อยางและผ้าใบมาก พร้อมกับรูปทรงที่สูงเหมือนรูปถ้วย สามารถเสริมผ้าใบได้ ตั้งแต่ 1 ชั้น เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากค่าแรงดัน (Psi / Mpa / Bar)

5.  ไดอะแฟรมยาง รูปจาน (Plate Diaphragm Rubber)

มักใช้กับงานที่ต้องทนแรงดันของเครื่องที่มีโครงสร้างเป็นแบบพื้นที่กว้าง และสูงเล็กน้อย ตามโครงสร้างของเครื่องจักรในแต่ละรุ่น สามารถเสริมผ้าใบได้ ตั้งแต่ 1 ชั้น เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากค่าแรงดัน (Psi / Mpa / Bar)

6. ไดอะแฟรมยาง ติดเทปล่อน (Diaphragm rubber bonded with Teflon)

มักใช้กับงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี หรือ กรด-ด่างชนิดต่างๆ โดยด้านหนึ่งจะเป็นเนื้อยางและอีกด้านหนึ่งประกบกับเทปล่อน (PTFE)

7. ไดอะแฟรมยาง โซลินอยด์วาล์ว (Diaphragm Rubber for Solenoid Valve)

ประกอบแสตนเลส และทองเหลือง

8. ไดอะแฟรมยาง ตามแบบ (Custom Diaphragm rubber)

ลักษณะไดอะแฟรมยาง จะเป็นตามรูปแบบโครงสร้างของเครื่องจักรในแต่ละรุ่น ซึ่งมีขนาดพิเศษ และลักษณะแตกต่างกับไดอะแฟรมยางทั่วไป สามารถเสริมผ้าใบได้ ตั้งแต่ 1 ชั้น เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากค่าแรงดัน (Psi / Mpa / Bar)

ไดอะแฟรมยาง ( DIAPHRAGM RUBBER )

  ยางไดอะแฟรม ถือเป็นส่วนประกอบชิ้นนึงของไดอะแฟรมปั้ม (Diaphragm Pump) เนื่องจากปั้มจะสูบจ่ายของเหลวที่มีความเป็นกรด-ด่างสูง, ของเหลวที่มีความหนืด หรือของเหลวที่มีตะกอนปนอยู่ด้วย โดยตัวปั้มจะส่งกำลังผ่านแผ่นยางไดอะแฟรม (Diaphragm Rubber) และแผ่นยางไดอะแฟรม มีหน้าที่ตัดแยกระบบของฝั่งเครื่องจักรออกจากฝั่งของเหล็ก เพื่อไม่ให้ของเหลวสัมผัสกับชิ้นส่วนสำคัญต่างๆ ของปั้มโดยตรง 

 

ปั้มไดอะแฟรมประกอบด้วย

       1. แผ่นยางไดอะแฟรม (Diaphragm Rubber)  โดยส่วนมากนิยมใช้เป็นแผ่นยางไดอะแฟรมแบบชิ้นเดียว (Single Diaphragm rubber) และแผ่นยางไดอะแฟรมแบบ 2 ชิ้น (Double Diaphragm rubber) เพื่อสลับกันผลักไป-กลับด้วยแรงกดอากาศ ยางไดอะแฟรมฝั่งหนึ่งจะถูกดึงเข้าสู่แกนกลาง ส่งผลให้ของเหลวถูกดูดเข้าไปในตัวปั้ม และยางไดอะแฟรมอีกฝั่งหนึ่งถูกผลักออกทำให้ของเหลวที่อยู่ในปั้มถูกผลักออกไปสู่ท่อออกต่อไป
       2. เช็ควาล์ว (Check Valve) ทำหน้าที่ในการสร้างแรงดัน
       3. ลูกสูบ (Plunger) ทำหน้าที่ในการส่งถ่ายกำลังจากมอเตอร์และชุดเกียร์
       4. วาล์วระบายอากาศ (Air Release Valve) ทำหน้าที่ระบายอากาศออกจากห้องของเหลว
       5. วาล์วเติมเต็ม (Replenishing Valve) ทำหน้าที่ระบายแรงดันบางส่วนออก เพื่อไม่ให้แผ่นยางไดอะแฟรมยางชำรุดหรือพังเสียหายจากภาระการใช้งานที่สูงเกินไป (Overload)
       6. วาล์วตั้งค่าแรงดัน (Pressure Limiting Valve) ทำหน้าที่ตั้งค่าแรงดันของปั้มเพื่อนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

       ทั้งนี้แผ่นยางไดอะแฟรม(Diaphragm Rubber)  เป็นวัสดุที่สำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับปั้มไดอะแฟรม สามารถชำรุดหรือเสียหายได้ หากมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และเกินกำลัง จึงจำเป็นต้องมีการเลือกใช้ชนิดยางของยางไดอะแฟรมให้เหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงรูปร่าง ลักษณะต่างๆ เช่น การเสริมผ้าใบเพื่อให้ยางไดอะแฟรมมีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น, การเลือกใช้แผ่นไดอะแฟรมเทปล่อนเพื่อการทนทานต่อสารเคมีชนิดตัวทำละลายเข้มข้น เป็นต้น

 

ทั้งนี้การผลิตไดอะแฟรมยางไม่เพียงแต่คำนึงถึงชนิดของไดอะแฟรม หรือรูปทรงต่างๆ เท่านั้น จำเป็นต้องพิจารณาควบคู่ไปกับ Material ชนิดของยางที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การสัมผัสความร้อน แรงดัน กรด/ด่าง/สารเคมี หรือน้ำมัน เพื่อให้สามารถใช้งานไดอะแฟรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากที่สุด